เดินทางช่วงธันวาคม 2018 ระยะเวลา 3 วัน
เป็นส่วนหนึ่งของทริปยาว 12วันที่อียิปต์ อ่านเกี่ยวกับอียิปต์แบบเต็มที่ https://www.gooutseeworld.com/post/egypt
ไคโรเป็นเมืองที่มีผู้คนอาศัยอยู่มากที่สุดในโลกอาหรับและเป็นเมืองหลวงของอียิปต์ เป็นเมืองที่มีความวุ่นวาย แออัดและมลภาวะพิษ เต็มไปด้วยตึกสูงที่เหมือนสร้างไม่เสร็จ สาเหตุเพราะต้องเสียภาษีถ้าสร้างเสร็จ ฉะนั้นเมืองหลวงที่มีคนถึง 30ล้านคนนี้จึงเต็มไปด้วยแท่งตึกที่สร้างไม่เสร็จ มองไปน่าเกลียดมากเลยทีเดียว และด้วยจำนวนคนที่เยอะมากถนนหนทางจึงเต็มไปด้วยผู้คน รถติดตลอดเวลา แม้ทางด่วนมีถึง 8 เลน เราจะเห็นคนและสัตว์เดินกันตามข้างทางตลอด ซึ่งเป็นภาพที่ช็อคมากสำหรับนักท่องเที่ยวที่จินตนาการอียิปต์ไว้อีกอย่าง
อันที่จริงไคโรมีประวัติที่น่าสนใจไม่แพ้ส่วนอื่นๆ ของอียิปต์ ด้วยความที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจาก Memphis เมมฟิสซึ่งเป็นเมืองหลวงเดิมในยุคโบราณ(ก่อนคริสกาล)ของอียิปต์ และตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมแม่น้ำไนล์ จึงมีชาวโรมันมาสร้างบ้านเรือนอยู่ในไคโรตั้งแต่ 600 ปีก่อนศริสกาล โดยซากโรมันโบราณยังมีให้เห็นอยู่ในไคโร จาก Roman โรมันเข้าสู่ยุค Byzentine ไบเซนไทน์ และเข้าสู่ยุคชาวอาหรับเข้าปกครองในศตวรรษที่ 7 และจนถึงศตวรรษที่ 12 ไคโรยังเป็นที่อยู่ของคนต่างถิ่นที่เข้ามาตั้งรกรากอย่างต่อเนื่อง แต่หลังสงคราม Crusade ครูเซต เมืองหลวงในขณะนั้นของอียิปต์ Fustat ถูกเผาวอด จึงย้ายเมืองหลวงมาที่ไคโรตั้งแต่ปี ค.ศ. 1168 ภายหลังอียิปต์สูญเสียความสำคัญในฐานะเส้นทางการค้าเมื่อ Vasco da Gama นักเดินเรือชาวโปรตุเกสค้นพบเส้นทางเดินเรือผ่านแหลม Good Hope ในแอฟริกาใต้ และเส้นทางการค้าของโลกเบี่ยงไปเป็นการเดินเรือในมหาสมุทรแทน อียิปต์ตกต่ำลงหลังจากนั้น และกลายมาเป็นเพียงเขตหนึ่งใน Ottoman จักรวรรดิออตโตมาน จนถึง ค.ศ. 1798 นโบเลียนเข้ายืดอียิปต์ ถือเป็นช่วงสิ้นสุดของการปกครองโดยออตโตมาน จากนั้นอียิปต์เข้าสู่ช่วง modernization พัฒนาประเทศเพื่อให้ทัดเทียมกับชาติอื่นๆ การทุ่มเทสร้างสิ่งต่างๆนี้ทำให้ประเทศเป็นหนี้มหาศาล จนต้องปล่อยให้ชาติยุโรปเข้ามาแบ่งผลประโยชน์ต่างๆ โดยเฉพาะอังกฤษที่เข้ามาปกครองเหมือนที่ทำกับอินเดีย จนท้ายสุดเกิดเป็นการประท้วงทั่วประเทศ และอียิปต์ประกาศอิสระภาพในปี ค.ศ. 1922
ประวัติศาสตร์เหล่านี้ทิ้งร่องรอยไว้ในไคโรเป็นโบราณสถานที่เหลือจากยุคต่างๆ ซึ่งหลังจากอ่านประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของอียิปต์แล้ว อยากเห็นเลยว่าหลังจากยุคฟาโรห์แล้ว อียิปต์มีสิ่งก่อสร้างอะไรบ้าง โดยเริ่มจากการไปเยือน ส่วน Coptic Cairo ซึ่งเป็นส่วนที่เก่าแก่ที่สุดในไคโร มีประวัติย้อนไปถึงตอนสร้างเมืองในยุคกรีก-โรมันเลยทีเดียว
Babylon Fortress
ป้อมแห่งนี้เป็นสถานที่ที่เก่าแก่ที่สุดในไคโร สร้างโดยชาวโรมันตั้งแต่ราว 600 ปีก่อนศริสกาล ตอนที่สร้างที่ตรงนี้ติดกับแม่น้ำไนล์ที่ในยุคนั้นไหลผ่านจุดนี้ แต่ปัจจุปันเปลี่ยนเส้นทางถอยห่างออกไปอีก 400 เมตร มีทหารประจำอยู่ 3 กอง ถือเป็นสถานที่บัญชาการหลักที่ทางโรมมันส่งมาคอยควบคุมอียิปต์ และเมื่อเข้าสู่ยุคไบเซนไทน์ป้อมนี้ก็เป็นปราการหลักในการทหารต่อมา จนถึง ค.ศ. 640 Amr ibn al-As al-Sahmi พาชาวอาหรับบุกยืดป้อมนี้สำเร็จและเข้าสู่ยุคการปกครองของอาหรับ จากนั้นเมื่องถึงขยายออกไปมากขึ้น
Hanging church/
Saint Virgin Mary's Coptic Orthodox Church
เมื่อตั้งป้อมแล้ว ในช่วงหลายร้อยปีต่อมาเขตบริเวณ Babylon Fortress มีครอบครัวชาวโรมันจากที่ต่างๆเข้ามาอยู่มากขึ้น และหนึ่งในครอบครัวที่ย้ายเข้ามาคือพระเยซูและพระแม่ ซึ่งหลบหนีเข้ามาจากการตามไล่ฆ่า และซ้อนคัวอยู่ในอียิปต์ถึง 2ปี ในช่วงที่พระเยซูยังแบเบาะ ฉะนั้นภายหลังจึงมีการสร้างโบสถ์ที่ตรงนี้ในศตวรรษที่ 3 และมีการสร้างใหม่อีกครั้งในศตวรรษที่ 10 ถือเป็นโบสถ์ที่เก่าแก่ที่สุดในทวีปแอฟริกา ทั้งยังเป็นสถานที่ที่ประทับของ Coptic Pope ซึ่งเป็นผู้นำทางศาสนาคริสในแอฟริกาอีกด้วย
ที่มีชื่อว่า Hanging Church เป็นเพราะโบสถ์นี้สร้างคร่อมส่วนหนึ่งของป้อม Babylon Fortress ซึ่งถูกทิ้งร้างช่วงหนึ่ง เฉกเช่นที่เกิดขึ้นกับเมืองอื่นๆในอียิปต์ที่เมืองถูกฝังกลบด้วยทราย โดยในตอนก่อสร้างไม่มีคนรู้ว่าด้านล่างมีซากของป้อมอยู่ลึกลงไป 6 เมตร พอก่อสร้างเสร็จจึงพบว่าด้านล่างเป็นป้อม ทำให้ส่วนของโถงกลางโบสถ์เหมือนถูกแขวนบนป้อม จึงเรียกโบสถ์นี้ว่า Hanging Church
ผนังด้านนอกโบสถ์มีงานโมเสกที่ทำเป็นนิทานเกี่ยวกับศาสานคริสติ์ สีสวยสดและน่ารักมากๆ ถ้าจะว่าไปชอบส่วนนี้ที่สุดจากทุกสถานที่ๆไปเยือนในระแวกนี้ สำหรับชาวคริส โดยเฉพาะ Orthodox จะต้องเข้ามาสักการะที่โบสถ์นี้ แต่อย่างไรก็ดี เราจะเห็นชาวตะวันตกมาเที่ยวบริเวณนี้เยอะมาก เพราะเขาสนใจในเรื่องราวของ Holy Family ครอบครัวพระเยซู
Saint Sergius and Bacchus Church
ตัวโบสถ์สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 5 แต่ถูกเผาและสร้างใหม่ในศตวรรษที่ 8 แม้จะถูกบูรณะและสร้างใหม่บ่อยครั้ง แต่โบสถ์นี้ยังคงความสไตล์ Coptic Cairo ไว้มาก โบสถ์เหมือนได้รับอิทธิพลจากโลกอาหรับ มีกำแพงไม้ฉลุลายศิลปะแบบอาหรับ และงานไม้อื่นๆก็เป็นสไตล์เดียวกัน
เชื่อว่าจุดที่ตั้งของโบสถ์นี้ คือจุดที่ Holy Family ครอบครัวพระเยซูเคยอาศัยอยู่ ช่วงที่ลี้ภัยในอียิปต์ ฉะนั้นคนที่มาเยี่ยมที่โบสถ์จะลงไปด้านล่างของโบสถ์เพื่อเยี่ยมชมจุดที่พระเยซุที่เป็นทารกน้อยอาศัยอยู่ ซึ่งค่อนข้างอับทีเดียว ทำให้เรารู้ว่า ท่านน่าจะลำบากมากในการต้องใช้ชีวิตในที่ที่คับแคบ
นอกจากงานไม้ต่างๆที่เห็นได้ชัดว่าเป็นแบบอาหรับแล้ว ยังมีการตกแต่งด้วยภาพวาดสไตล์ Romanesque มากมาย เป็นภาพนิทานเกี่ยวกับศาสนาคริสต์
Coptic Cairo
การเดินเล่นแถวนี้จะพบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในซอยแคบที่มีกำแพงหรือตึกตีคู่อยู่สองข้าง แต่ส่วนตัวคิดว่าบริเวณนี้น่าจะถือว่าน่าอยู่สำหรับไคโร เพราะดูเป็นระเบียบเรียบร้อย และตึกก็ไม่ได้ถูกทิ้งให้ดูเหมือนสร้างไม่เสร็จ แถมยังมีสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินด้วย ซึ่งในทวีปแอฟริกา มีเพียง 2 ประเทศ อียิปต์และอัลจีเรียเท่านั้นที่มีรถไฟฟ้าใต้ดิน ร้านค้าในบริเวณนี้เน้นขายพวกงานศิลปะเกี่ยวกับศาสนาคริส ทั้งยังมีแผงหนังสือขนาดใหญ่ตียาวตามซอย ซึ่งขายหนังสือเกี่ยวกับอียิปต์อีกด้วย หนังสือเหล่านี้ชาวอเมริกันและอังกฤษชอบซื้อสะสม เราก็ได้มาเล่มหนึ่ง The Cairo Trilogy เขียนโดย Naguib Mahfouz (1911-2006) นักเขียนรางวัลโนเบลชาวอียิปต์ หนังสือหนาหลายร้อยหน้าอยู่
Amr Ibn Alas Mosque
เมื่อจบยุคไบเซนไทน์ ชาวอาหรับเข้ามามีอิทธิพลในอียิปต์ และศาสนาอิสลามก็เข้ามาแทนที่ จึงมีการสร้างมัสยิดขึ้นเป็นครั้งแรกในช่วงศตวรรษที่ 7 ซึ่ง Amr Ibn Alas Mosque เป็นมัสยิดแรกและถือเป็นมัสยิดที่เก่าแก่ที่สุดในอัฟริกา แต่ด้วยความที่ยังมีการประกอบพิธีทางศาสนาทุกวันมาตั้งแต่ ค.ศ. 642 จึงมีการสร้างต่อเติม และบูรณะเพิ่มเติมหลายต่อหลายครั้ง จนปัจจุปันไม่เหลือเคร้าโครงเดิมเลย ก็น่าเสียดายอยู่
สำหรับตัวเอง รู้สึกว่ามัสยิดนี้ให้ความรู้สึกสบายดี ไม่เหมือนบางประเทศที่ไม่อนุญาติให้คนต่างศาสนาเข้า ที่มัสยิดนี้เข้าได้ทุกคน และยังมีเสื้อคลุมเตรียมให้นักท่องเที่ยวใส่คลุมด้วย สีสันสดใสมาก และก็ดีเพราะเวลาหันไปเห็นคนที่ใส่เสื้อคลุมสีเขียวสด จะรู้เลยว่าเป็นนักท่องเที่ยว
Salah El Din Citadel/Cairo Citadel
ป้อมปราการนี้สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1182 และเป็นศูนย์กลางของผู้ปกครองอียิปต์จนถึง ค.ศ. 1860 สร้างโดย Salah El Din ซาลาดิน ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ Ayyubid ซึ่งปกครองพื้นที่อียิปต์ นูเบีย ตูนีเซีย และกว่าครึ่งของโลกอาหรับ เป็นผู้พิชิตที่น่าเกรงขามและหวั่นเกรงของประเทศต่างๆ เขายังเป็นแกนนำในสงครามครูเสตที่ทำให้ฝ่ายอิสลามเข้ายืดเยรูซาเลมไว้ได้ แต่เสียดายที่เสียชีวิตด้วยวัยเพียง 56ปีจากโรคติดต่อ มีภาพยนต์มากมายที่สร้างเกี่ยวกับบุคคลในตำนานนี้ ราชวงศ์ Ayyubid อยู่ต่อมาอีกเพียง 70ปีก็ล่มสลาย แต่ป้อมปราการนี้ถูกใช้เป็นศูนย์กลางการปกครองต่อมาอีกหลายราชวงศ์ กว่า 600ปี
เป็นที่น่าเสียดายที่อาคารเก่าส่วนใหญ่ถูกทุบทิ้งและสร้างใหม่โดย Muhammad Ali Pasha ซึ่งเป็นผู้ปกครองอียิปต์ภายใต้อาณาจักร Ottoman Empire ออตโตมาน ในศตวรรษที่ 19 หลายอย่างในนี้จึงได้สร้างตามแบบของสถาปัติยกรรมเติร์กจาก Istanbul อิสตันบูล ประเทศตรุกี ปัจจุปันป้อมนี้ไม่ได้เป็นรัฐสภาแล้ว แต่ UNESCO ขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลก
Muhammad Ali Mosque เป็นอาคารส่วนที่มีชื่อเสียงที่สุดในป้อมนี้ เพราะมัสยิดนี้ถอดแบบมาจาก Sultan Ahmed Mosque หรือ Blue Mosque ซึ่งเป็นสัญญาลักษณ์ของอิสตันบูล แต่ทำด้วยหิน alabaster เศวตศิลา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าออตโตมานมีอำนาจเหนืออียิปต์ รายละเอียดภายในมัสยิดเหมือนที่ Blue Mosque มากด้วยพอๆกับภายนอก แสดงให้เห็นว่าราชวงศ์นี้เป็นหุ่นเชิดของจักรวรรดิออตโตมัน
และอีกหนึ่งสิ่งที่ต้องไปดูในป้อมนี้คือหอนาฬิกาซึ่งอยู่ตรงข้ามหอสวดมนต์ ซึ่งมีนาฬิกาสล์ฝรั่งเศสที่พระเจ้าหลุยส์ฟิลลิป King Luis Philip of France มอบให้เป็นการแลกเปลี่ยนกับเสาโอบีลิส Obelisk ซึ่งปัจจุปันตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ลาน Place de la Concorde กลางกรุงปารีส ที่น่าสนใจคือนาฬิกานี้ตั้งแต่ได้รับมอบมา ไม่เคยเดินตรงเลยแม้แต่วันเดียว
อ่านเรื่องเกี่ยวกับเสาฌอบีลิสได้ใน
ป้อมไคโรนี้ตั้งอยู่บนเนินที่สูงที่สุดในไคโร จึงเป็นจุดที่เหมาะกับการมองดูวิวกลางกรุงไคโร และจากจุดนี้สามารถมองเห็นมหาปีรามิดแห่งกีซ่าได้ด้วย แต่ทิวทัศน์ไม่สวยเลย ขมุกขมัวเต็มไปด้วยฝุ่นละออง และตึกส่วนใหญ่ก็ทิ้งไว้ให้เหมือนสร้างไม่เสร็จ ทำให้ดูแล้วไม่เจริญตา
Sultan Hassan Mosque/
Mosque-Madrassa of Sultan Hassan
ไม่ไกลจาก Cairo Citadel คือที่ตั้งของมัสยิดขนาดใหญ่สร้างเสร็จในปี 1363 โดย Sultan an-Nasir Hasan ซึ่งเป็นสุลต่านในราชวงค์ Mamluk ราชวงศ์นี้มีความน่าสนใจมาก เพราะเดิมเป็นทาสชาวเติร์กพื้นเพมาจากเอเชียกลาง เข้ามารับใช้เป็นทหารส่วนตัวซาลาดินผู้สร้าง Cairo Citadel ทาสทหาร Mamluk ถูกเทรนด์ใช้แทนทหารแอฟริกันผิวดำในราชสำนักอียิปต์ โยทาสเหล่านี้ถูกซื้อมาขณะเป็นเด็กชาย ฝึกให้อ่านออกเขียนได้ เรียนวิชาการต่อสู้ มารยาทการเข้าสังคมและเข้ารีดเป็นสุนีย์มุสลิม เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ก็ถูกปลดให้เป็นอิสระ แต่ขึ้นกับเจ้านายที่ซื้อมาชุบเลี้ยง และถูกวางทำงานสำคัญต่างๆให้เจ้านาย โดยทาสเหล่านี้จะถูกมองว่าเป็นเสมือนญาติมากกว่าทาสรับใช้ทั่วไป เพราะถูกชุบเลี้ยงแต่เด็ก
ซึ่งในราชวงศ์ Ayyubid หลังจากการตายของซาลาดินซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์ก่อนวัยอันควร ก็เกิดการแย่งชิงอำนาจครั้งใหญ่มีการฆ่ากันในหมู่ญาติ และทุกครั้งที่ชิงอำนาจมาได้ก็โอน Mamluk จากนายเก่ามาต่อไป สาเหตุก็เพื่อให้ไม่เกิดความระส่ำในการปกครอง เพราะ Mamluk มีตำแหน่งใหญ่โตกุมหน้าที่สำคัญที่เจ้านายมอบหมายให้ การโอนเข้ามาเท่ากับได้โอนอำนาจเข้ามาด้วย แต่นานวันเข้า การรวม Mamluk จากหลายสายเข้าก็กลายเป็นการมี Mamluk เต็มราชสำนัก และก่อให้เกิดรัฐประหารจน Mamluk ยืดอำนาจเสียเองและสิ้นราชวงศ์ในที่สุด
การสร้างมัสยิดนี้ใช้เวลาเกือบ 8 ปี โดยใช้เงินกว่า 2-3หมื่นดีนาต่อวันเป็นค่าแรง ซึ่งถือเป็นโครงการก่อสร้างที่แพงที่สุดในยุค Medieval Egypt เลยทีเดียว เมื่อสร้างเสร็จถูกมองว่าเป็นสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่เทียบเขียงปีรามิดที่กีซ่าเลยทีเดียว จากการออกแบบที่ผสมผสานความรู้และช่างฝีมือจากทุกที่ในโลกอาหรับยุุคนั้น แม้ในระหว่างการก่อสร้าง อียิปต์กำลังประสบปัญหาเศรฐกิจอย่างหนัก แต่ได้สมบัติที่ยืดได้จากเหล่าขุนนางที่ตายจากการระบาดของกาฬโรคมาอุดหนุนจึงสร้างเสร็จ ที่น่าสนใจคือ ในช่วงศตวรรษที่ 14-16 ซึ่งมีการระบาดในอียิปต์ถึง 50ครั้ง คร่าชีวิตชาวไคโรไปกว่าล้านคน เมื่อสิ้นโรคระบาดมีชาวเมืองเหลืองอยู่เพียง 150,000ตนเท่านั้น
มัสยิดนี้ถูกออกแบบมาให้มีส่วนที่เป็นสุสานเพื่อไว้เก็บศพของ Sultan an-Nasir Hasan ซึ่งเป็นผู้สร้าง แต่กลับไม่มีศพของเขา นี่เป็นเพราะว่าซุลต่านถูกฆ่าตายด้วยอายุเพียง 27ปี ในขณะที่ยังสร้างมัสยิดไม่เสร็จ โดยแม่ทัพคู่ใจที่เอาศพไปทิ้งจนหาศพไม่เจอ สาเหตุมาจากการที่ Sultan an-Nasir Hasan ใช้จ่ายสุรุยสุร่าย สร้างมัสยิดใหญ่โตเกินกำลัง และใช้เงินปรนเปรอนารีและใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ทั้งที่ประเทศชาติประสบปัญหาเศรฐกิจอย่างหนัก
Al Refaie Mosque
Al Refaie ตั้งอยู่ติดกับ Cairo Citadel หรือ Salah El Din Citadel เป็นมัสยิดที่สร้างโดย Khedive Isma'il Pasha ผู้นำอียิปต์ในราชวงศ์ Muhammad Ali ซึ่งเป็นหุ่นเชิดของจักรวรรดิออตโตมัน แต่ขณะนั้นจักรวรรดิออตโตมันอ่อนแรงไม่มีกำลังมาควบคุมอียิปต์ เป็นจังหวะที่ Khedive Isma'il Pasha ผู้โตมาในยุโรปมีความคิดพยายามพัฒนาประเทศให้ทัดเทียมกับโลกตะวันออก มีการก่อสร้างสมัยใหม่มากมายในเวลาเดียว จนทำให้ประเทศเป็นหนี้มากมาย ทำให้ต้องขายสิทธิใน Suez Canal คลองซูเอตซึ่งน่าจะเป็นรายได้มหาศาลให้แก่อียิปต์ให้แก่อังกฤษ และถูกอังกฤษบังคับให้สละบัลลังก์ให้พระโอรสขึ้นแทน ในปี ค.ศ. 1879
มัสยิดนี้เดิมสร้างเพื่อพระมารดาของพระองค์และสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1869 แต่ถูกเอามาต่อเติมอีกในปี ค.ศ. 1912 เพื่อเพิ่มส่วนที่เป็นสุสานราชวงศ์ Muhammad Ali ในการออกแบบมัสยิดนี้ สถาปนิกได้ออกแบบให้ภายนอกดูกลมกลืนกับ Sultan Hassan Mosque ที่อยู่ด้านข้างซึ่งสร้างมาก่อนหลายร้อยปีเพื่อความกลมกลืนกับสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ขนาด Sultan Hassan Mosque ซึ่งแง่นี้เรากลับไม่ค่อยเห็นทำกันในการออกแบบตึกหลายที่ที่อยู่ติดกับสถานที่สำคัญ ถือว่าผู้ออกแบบคิดได้ละเอียดรอบคอบ
ภายในมัสยิดนี้เป็นโครงสร้างสไตล์อิสลามที่งดงามมากที่สุดในไคโร แม้หลายคนจะคิกว่าด้านในค่อนข้างมืด เพราะแบ่งเป็นหลายชั้นมากจากการใช้ฉากกั้น สำหรับชาวอิสลามการได้ละมาดพร้อมกันยิ่งเยอะ ยิ่งถือเป็นบุญมาก ฉะนั้นเราจึงเห็นว่าตามมัสยิดจะเหลือที่ส่วนกลางเป็นลานโล่งๆ และลดความแออัดด้วยการใช้เพดานสูง
Egyptian Museum, Cairo
พิพิธภัณฑ์อียิปต์ในไคโรเป็นสถานที่ที่สำคัญที่สุดในไคโรก็ว่าได้ เพราะรวมสมบัติล้ำค่าจากทุกสุสาน ทุดหุบเขา ว่ากันว่าพิพิธภัณฑ์นี้มีวัตถุยุคอียิปต์โบราณจำนวนถึง 170,000 ชิ้น จากที่วางกันแน่นพื้นที่ไปหมดแล้ว ยังไม่ได้นำออกมาแสดงอีกกว่า 3 หมื่นชิ้นซึ่งเป็นชิ้นใหญ่ๆ จึงมีแผนก่อสร้าง Grand Egyptian Museum ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจากมหาปีรามิดกีซ่าเพื่อจัดแสดงงานที่ยังไม่ได้ออกมาจัดแสดงเหล่านี้ โดยเฉพาะพวกชิ้นใหญ่ๆที่ว่า และมีกำหนดเปิดต้นปี 2021
สำหรับคนที่คลั่งไคล้อียิปต์โบราณ ไม่ว่าจะเพราะดูหนังเรื่อง The Mummy โดย Brandon Fraiser หรือโดย Tom Cruise หรือเพราะอ่านการ์ตูนเรื่องคำสาบฟาโรห์ พิพิธภัณฑ์อียิปต์มีความสำคัญที่ต้องใช้เวลาเยี่ยมชมอย่างละเอียด เพราะอัดแน่นด้วยสมบัติที่เอามาจากส่วนปีรามิดและวิหารต่างๆทั่วอียิปต์ เรียกว่าถ้าเราพลาดการเที่ยวส่วนใดในทริป ก็เก็บตกมันที่เดียวเลยในพิพิธภัณฑ์ไคโร Egyptian Museum
ตัวพิพิธภัณฑ์อียิปต์เป็นอาคาร 2 ชั้นและมีความโบราณมากเพราะเปิดมาตั้งแต่ปี 1901 เวลาเดินในพิพิธภัณฑ์จะมีความรู้สึกเหมือนอยู่ในฉากหนัง ตัวพิพิธภัณฑ์ก็คือพิพิธภัณฑ์เลย ชั้นล่างจัดแสดงศิลปะเรียงตามยุคสมัยของอียิปต์โบราณ คือ Old Kingdom ราชอาณาจักรเก่า Middle Kingdom ราชอาณาจักรกลาง และ New Kingdom ราชอาณาจักรใหม่
ส่วนชั้น 2 จัดแสดงสมบัติจากสุสานต่างๆ ที่สำคัญคือสมบัติของ Tutankhamun ตุตันคามุน ซึ่งมีห้องจัดแสดงเฉพาะตระการตามากกับจำนวนทองคำ ซึ่งว่ากันว่าเป็นสมบัติที่มาจากสุสานที่เล็กที่สุดใน Valley of the Kings หุบเขาแห่งกษัติย์ที่ Luxor เมืองลักซอร์ แต่เพราะไม่ได้ถูกโจรกรรมจึงถูกเก็บไว้อย่างสมบูรณ์จนขุดพบโดย Howard Carter ในปี 1922 ซึ่งเรื่องราวการขุดพบนี้ นอกจากจะทำให้อียิปต์ขึ้นไปอยู่บนรายชื่อประเทศที่ต้องไปเยี่ยมสักครั้งในชีวิตของนักเดินทางแทยทุกคนแล้ว ยังเป็นแรงบันดาลใจให้เขียนนวนิยายและบทหนังมากมายตามมา
ห้องสำคัญอีกห้องในชั้นที่ 2 คือห้องเก็บมัมมี่ของฟาโรห์ที่มีชื่อเสียง เช่น รามเสสที่ 2 ซึ่งต้องเสียค่าผ่านประตูต่างหากและไม่สามารถถ่ายรูปได้ ส่วนตัวเป็นคนที่สนใจมัมมี่มาก ต้องบอกว่าเป็นห้องจัดแสดงที่เรียบง่ายมากและสามารถชมมัมมี่ได้อย่างใกล้ชิดมากเลยทีเดียว เนื่องจากมัมมีถูกจัดวางในตู้แก้วสูงระดับเอว ด้านบนเป็นกระจกครอบมัมมี่ไว้เท่านั้น เราจึงสามารถก้มดูได้ในระยะใกล้มาก คนเข้าชมไม่มาก และไม่แออัดเหมือนส่วนชั้นล่างและห้องตุตันคาเมน คิดว่าคนทั่วไปคงไม่ได้พิสมัยมัมมี่มากนัก แต่ส่วนตัวรู้สึกสนใจและชอบมองดูโลงบรรจุกับมัมมี่มากๆ ตั้งแต่เห็นครั้งแรกที่ British Museum จะว่าไปรู้สึกว่าที่ British Museum ในลอนดอนจะมีมัมมี่มากกว่าที่นี่อีก
ในแต่ละวันมีผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ไคโรมากถึง 4-5 หมื่นคน คนส่วนใหญ่จะเข้าชมแค่ห้องสมบัติ Tutankhamun และพื้นที่แถวโถงกลางชั้นล่างเล็กน้อย เพราะเป็นโปรแกรมทัวร์ ซึ่งมีเวลาเพียง 1-2 ชั่วโมง อันที่จริงสมบัติทุกชิ้นในนี้ล่ำค่าและสวยงามน่าฉงน สวยและอยู่ในสภาพที่เราไม่เชื่อว่ามันมีอายุหลายพันปีแล้ว
Khan El-Khalili bazaar
สุดท้ายเราคงจากไคโรไปไม่ได้โดยที่ไม่ได้ไปเดินเที่ยวใน Khan El-Khalili Bazaar ที่ตลาดอายุพันปีกลางไคโร ตลาดนี้สร้างขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 970 พอพอกับช่วงที่ไคโรขึ้นเป็นเมืองหลวงของอียิปต์ต่อจาก Alexandria อเล็กซานเดรีย ซึ่งเริ่มในราชวงศ์ Fatimid ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่มาจากอาหรับ ปกครองทะเลแดงและแอฟริกาเหนือทั้งหมด
เดิมที่ไคโรเป็นเมืองปิดที่ไม่อนุญาติให้คนนอกราชวงศ์เข้ามาอยู่ แรกเริ่มให้สร้างพระราชวัง 2 หลัง ตะวันออกและตะวันตก ส่วนของ Khan El-Khalili Bazaar เป็นส่วนด้านใต้ของพระราชวังตะวันออก ซึ่งมีสุสานของราชวงศ์อยู่ด้วย จนถึงปี ค.ศ. 1171 ที่ซาลาดินเข้ามายืดไคโร ถึงอนุญาติให้มีประชาชนเข้ามาอาศัยในไคโรได้ และซาลาดินก็สร้างป้อมปราการขึ้นเป็นทั้งราชวังและที่รัฐสภาแทนราชวังเดิม
ในยุคที่ราชวงศ์ Mambuk มีองค์กรเพื่อการกุศลของอิสลามเกิดขึ้นมากมาย และหนึ่งในองค์กรนี้ได้สร้าง qaysariyya ซึ่งเป็นตลาดที่แบ่งแผงขายของเป็นห้องๆ (ซึ่งคือการสร้างห้องแถวแบบบ้านเรา) เพื่อเป็นการหารายได้ โดยทีแรกเป็นแค่แผง ต่อมาสร้างเป็นตึกเพราะสะดวกในการนับและเรียกเก็บเงิน ตั้งแต่นั้นมาส่วนของตลาดตรงนี้ก็ถูกแบ่งเป็นห้องแบบมีระเบียบ และจนถึงศตวรรษที่ 14 Sultan Barquq สุลต่านบาร์คได้สั่งทุบสุสานเก่าและสร้างตลาดนี้ใหม่ให้แบ่งส่วนชัดเจน และตั้งชื่อเขตนี้ใหม่เป็นชื่อ Khan El-Khalili ดังที่เห็นในปัจจุปัน
แม้จะเทียบความตื่นตาตื่นใจกับตลาด Grand Bazaar ใน อิสตันบูลไม่ได้ แต่ถือว่ายังควรเดินเที่ยวอยู่ ตลาดนี้ในช่วงทางเข้าจะขายของที่ออกไม่น่าสนใจ พวกของฝากทั่วไป แต่ด้านในจะมีแบ่งเป็นโซนอยู่ อารมณ์คล้ายจัตุจักรเรา มีร้านทั้งน่าสนใจและพื้นๆปนกัน แนะนำให้เดินลึกๆหน่อย แต่ต้องต่อราคาเยอะมากจนปวดหัว หรือจะปลีกตัวไปนั่งร้านกาแฟแบบอาหรับก็สนุกสนานไม่น้อย
ที่ตลาดนี้เคยเกิดเหตุการณ์ระเบิดโดยกลุ่มก่อการร้ายในปี ค.ศ. 2005 มีนักท่องเที่ยวเสียชีวิต 6 คนและชาวอีิปต์อีก 11คน ซึ่งเป็นฉนวนทำให้นักท่องเที่ยวหายฮวบไปจากอียิปต์ และมีเหตุก่อการร้ายอีกครั้งในปี 2009 ที่ตลาดนี้อีก ทำให้อียิปต์สูญเสียนักท่องเที่ยวไปอีกระลอก เหตุการณ์ความไม่สงบในอียิปต์มีอยู่เป็นช่วง ทำให้สูญเสียนักท่องเที่ยวอยู่เสมอ
อ่านเกี่ยวกับอียิปต์แบบเต็มที่ https://www.gooutseeworld.com/post/egypt
เกร็ดน่ารู้
Tipping / การให้สินน้ำใจ
นักท่องเที่ยวส่วนมากที่ไปเที่ยวอียิปต์จะไปเพียงแหล่งท่องเที่ยวสำคัญเช่นชมปีรามิดในกีซ่า ล่องแม่น้ำไนล์ และเมืองโบราณลักซอร์ และเท่าที่รู้ไม่ค่อยมีคนไปแล้วไปอีก ครั้งเดียวก็พอแล้ว เพราะนอกจากความแออัดในเมืองหลวง ความปลอดภัยบนท้องถนน และสาธนประโภคที่แย่มาก (พอๆกับอินเดียที่ไม่มีน้ำประปาและไฟฟ้า) ยังมีเรื่องความไม่เป็นมิตรของชาวเมือง นักท่องเที่ยวเจอการเรียกเก็บค่าสินน้ำใจจากการให้บริการที่ไม่รู้ตัวว่าถูกบริการ เช่นช่วยเข็นกระเป๋าในสนามบิน จูงข้ามถนนที่ขับรถกันเหมือนโจรหนีตำรวจ พาไปชี้ห้องในแหล่งท่องเที่ยวให้ดู หรือเด็กที่เข้ามาโพสต์ในภาพให้เราถ่ายรูป ซึ่งทำให้เสียความรู้สึกมาก เพราะคนที่มาขอเราจะมีเด็กเล็กน่ารัก และตำรวจซึ่งควรจะดูแลความปลอดภัยรวมอยู่ด้วย วิธีที่จะจัดการกับปัญหานี้คือ ถามไกด์ว่าแต่ละที่จะโดนอะไรบ้าง ตัดสินใจตามความเหมาะสมแล้วเตรียมเงินเศษไว้แจกเลย ไหนๆก็โดนไถ่แน่นอน เสียอารมณ์เปล่าๆ ถ้าต้องไปเถียงอีก หรือสั่งให้ไกด์ทำหน้าที่จ่ายแทนไปเลย ลดการสัมผัสกับส่วนที่มาพึ่งปารถนา
การก่อการร้าย
เหตุไม่สงบมีมาเรื่อยตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 ผู้ก่อการร้ายวางระเบิด Khan El-Khalili Bazaar มีนักท่องเที่ยวเสียชีวิต 6 คนและชาวอีิปต์อีก 11คน ทำให้นักท่องเที่ยวหายฮวบไปจากอียิปต์ และมีเหตุก่อการร้ายอีกครั้งในปี 2009 ที่ตลาดนี้อีก ทำให้อียิปต์สูญเสียนักท่องเที่ยวไปอีกระลอก เหตุการณ์ความไม่สงบในอียิปต์มีอยู่เป็นช่วง โดยจะพุ่งเป้าไปที่รัฐบาล Coptic Christian และนักท่องเที่ยวบ้าง จนปัจจุปันยังมีเหตุการณ์ยิงกันที่ North Sinai ซีนายเหนืออยู่เป็นเนื่อง ตั้งแต่ปลายปี 2018 มา มีเหตุการยิงและระเบิดถึง 5 ครั้งแล้ว ก่อนจะไปให้เช็ค Travel Advice ของทางการก่อน
Comments